UFABETWINS ลีกภูมิภาค สู่ T4 : ภาพสะท้อนการรวมศูนย์อำนาจในฟุตบอลไทย
UFABETWINS ฟุตบอลโลก เป้าหมายสูงสุดของวงการฟุตบอลไทย ไม่ได้เกิดขึ้นโดยง่าย การวางรากฐานอย่างเป็นระบบ คือ สิ่งสำคัญดั่งที่เราได้เห็นตลอด 4 ปีที่ผ่านมา จากการทำงานของสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยชุดปัจจุบัน
UFABETWINS เพื่อให้การทำงานเป็นไปตามเป้า การรวมศูนย์อำนาจเพื่อความเป็นเอกภาพในการพัฒนา ย่อมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้วิธีการดังกล่าวจะสร้างผลกระทบแก่บางพื้นที่ของวงการฟุตบอลไทย
ลีกภูมิภาค คือ ภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบจากการรวมศูนย์อำนาจของฟุตบอลไทย เพื่อเปิดพื้นที่ให้แก่เยาวชนตามนโยบายของส่วนกลาง ปัญหาและสิ่งที่ศูนย์เสียในระดับภูมิภาค ย่อมเกิดขึ้นตามมาด้วยเช่นกัน
ลีกภูมิภาค : ยุคทองฟุตบอลท้องถิ่น
ลีกภูมิภาค ถือกำเนิดขึ้นในการแข่งขันฤดูกาล 2009 หลังสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย หรือ เอเอฟซี ออกกฎระเบียบใหม่ที่ปรับเน้นให้สโมสรฟุตบอล ก้าวสู่ความเป็นมืออาชีพอย่างเต็มตัว ด้วยการมีลีกที่เป็นระบบอาชีพยอมรับ
สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ จึงมีมติให้ควบรวม “โปรวินเชียนลีก” การแข่งขันฟุตบอลระดับภูมิภาค ที่ยังคงหาแชมป์กันแบบทัวร์นาเมนต์ ไม่ใช่ระบบลีก เข้ามาควบรวมกับ ดิวิชัน 2 ลีกฟุตบอลระดับที่ 3 ของประเทศไทยในขณะนั้น
โดยลีกภูมิภาค ฤดูกาล 2009 เป็นครั้งแรกที่ฟุตบอลไทยมีการแข่งขันระบบลีกแบบแยกภูมิภาค แบ่งเป็น โซนภาคเหนือ, โซนภาคอีสาน, โซนภาคกลาง และ ตะวันออก, โซนกรุงเทพมหานคร และ โซนภาคใต้ (ภายหลังเพิ่มเป็น 6 โซน)
การถือกำเนิดขึ้นของลีกภูมิภาค จึงเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่ฟุตบอลในระดับอาชีพกระจายตัวลงสู่ระดับภูมิภาค มีเปิดกฏให้ ทีมระดับจังหวัดสามารถส่งทีมเข้าร่วมระบบอาชีพได้ โดยผ่านสมาคมกีฬาจังหวัด จนมีสโมสรใหม่ๆ ระดับจังหวัด เกิดขึ้นกันอย่างแพร่หลาย
ทำให้กระแสท้องถิ่นนิยมเกิดขึ้นทั่วประเทศไทย แฟนบอลตามจังหวัดต่างๆ แห่กันเข้าไปชมเกมฟุตบอลในสนาม เพื่อเอาใจช่วยทีมรักที่ได้ลงแข่งขันในระบบฟุตบอลลีกเป็นครั้งแรก
“กระแสท้องนิยมที่เกิดขึ้นในตอนนั้น มันเกิดจากความใหม่ ซึ่งความใหม่ในที่นี้ไม่ใช่หมายถึงฟุตบอลนะ แต่หมายถึงรูปแบบของลีกอาชีพ และการส่วนรวม อย่างในอดีต คนต่างจังหวัดเขาไม่อินกับ ฟุตบอลไทยลีกหรอก เพราะว่าสโมสรที่แข่งขันก็กระจุกอยู่แค่ในกรุงเทพฯ อาจติดตามข่าวสารจากสื่อ รู้จักทีมใหญ่ๆบ้าง”
“กระทั่ง ชลบุรี มาได้แชมป์ไทยลีก ปี 2007 ผมมองว่านั่นเป็นตัวจุดประกายให้คนต่างจังหวัด เกิดความรู้สึกว่า อยากมีทีมบ้านเกิดให้เชียร์แบบนั้น เพราะปกติได้เชียร์ทีมจังหวัดก็แค่ใน โปรลีก ซึ่งก็ไม่มีทุกทีม หรือในกีฬาแห่งชาติเท่านั้น”
“พอมีการกำเนิดลีกภูมิภาค มันก็เหมือนจังหวัดที่ไม่เคยมีโรงหนัง ก็มีโรงหนังไปตั้ง แน่นอนว่าปีแรก คนต่อแถวเข้าไปดูเต็มรอบ กระแสตอนนั้นคึกคักมาก ไม่ใช่แค่คนดูในสนาม แต่ด้านนอกสนามเราเห็นคนต่างจังหวัด พูดคุยเรื่องฟุตบอลกัน เห็นร้านค้าเกิดขึ้นรอบๆสนาม” ต่อ เจียงฮาย – พีรวัตร สืบสวัสดิ์นิติกุล ผู้สื่อข่าวฟุตบอลไทย ที่คลุกคลีกับการลงพื้นที่ข่าวลีกรากหญ้ามานาน กล่าวกับ Main Stand
ความนิยมของลีกภูมิภาคเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด แฟนบอลแต่ละจังหวัดเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจในเขตพื้นที่ หันมาทำทีมฟุตบอล ส่งทีมลงแข่งขันในลีกภูมิภาค เพื่อสร้างความภาคภูมิใจให้แก่จังหวัด รวมถึงปกป้องศักดิ์ศรีไม่ให้บ้านใกล้เรือนเคียงพูดว่า “จังหวัดของคุณไม่มีทีมฟุตบอล”
ลีกภูมิภาคฤดูกาล 2010 จึงเกิดการขยายตัวของแบบคาดไม่ถึง มีทีมหน้าใหม่เข้ามาร่วมแข่งขันถึง 24 ทีม ลีกโซนเหนือ, อีสาน, กลาง และ ตะวันออก มีทีมในลีกมากถึง 16 ทีม เรียกได้ว่า ทีมฟุตบอลกระจายตัวลงไปแทบจะทุกจังหวัดในแต่ละภูมิภาค ไม่ต่างจากลีกระดับล่างของประเทศในยุโรปเลยแม้แต่น้อย
ยิ่งจำนวนทีมมาก การแข่งขันก็ยิ่งมาก ทุกสโมสรที่แข่งขัน มีเป้าหมายจะพาทีมเลือกชั้นสู่ระดับที่สูงขึ้น บวกกับศักดิ์ศรีที่ยอมจังหวัดข้างเคียงไม่ได้ เม็ดเงินที่ถูกหว่านลงไปในลีกภูมิภาค เพื่อจ้างนักเตะต่างชาติฝีเท้าดีจึงมีจำนวนไม่น้อย แฟนบอลเมื่อเห็นคนทำทีมเอาจริงเอาจัง บวกด้วยใจรักบ้านเกิด จึงพากันเดินทางมาให้กำลังใจทีมรักอย่างไม่ขาดสาย
ลีกภูมิภาคที่มีคนติดตามเยอะ การรายงานข่าวก็เยอะตามไปด้วย ย้อนกลับไปเมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว แม้การใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คจะไม่แพร่หลายอย่างทุกวันนี้ แต่การติดตามข่าวสารลีกภูมิภาคกลับไม่ใช่เรื่องยาก
มีการโพสต์รายงานผลเกมสำคัญแทบทุกเกม ผ่านทางเว็บไซต์ข่าวสาร, เว็บแฟนคลับฟุตบอลไทย หรือการตั้งกระทู้แลกเปลี่ยนข่าวสาร ไปจนถึงนิตยสารฟุตบอลรายสัปดาห์ เรียกได้ว่าลีกภูมิภาค มีการอัพเดทความเคลื่อนไหวแบบสัปดาห์ต่อสัปดาห์
ขณะเดียวกัน นักบอลไทยก็ได้ประโยชน์จากการขยายตัวของลีกภูมิภาค นักฟุตบอลเดินสายพาเหรดเข้าสู่ระบบอาชีพ จากอาชีพนักเตะรับจ้างกลายเป็นนักเตะที่มีอาชีพมั่นคง บวกกับการแข่งขันที่มีอยู่ทุกภูมิภาค นักเตะภูธรจึงไม่ต้องจากบ้านเกิดหรือครอบครัว เพื่อหิ้วรองเท้ามาคัดตัวในกรุงเทพฯเหมือนเมื่อก่อน
การกระจายอำนาจฟุตบอลผ่านลีกภูมิภาค เป็นเหมือนกับเสาเข็มที่ปักรากฐานฟุตบอลอาชีพ ลงไปยังทุกภูมิภาคของไทย ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับสโมสรฟุตบอล
ไม่ว่าจะเป็น แฟนบอล, นักฟุตบอล หรือ เจ้าของทีม รู้สึกว่าพวกเขามีฟุตบอลที่จับต้องได้ และมีความภูมิใจที่ได้อยู่ในการแข่งขัน ที่ครั้งหนึ่งอาจเรียกได้ว่า เข้มข้นที่สุด ในประวัติศาสตร์ฟุตบอลไทย
กำเนิด T3-T4 : จุดกำเนิดแห่งการรวมอำนาจ
การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เข้ามาเยือนลีกภูมิภาคในการแข่งขันฤดูกาล 2017 เมื่อสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ภายใต้การนำของพล.ต.อ.ดร. สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ได้มีนโยบายในการยกระดับลีกอาชีพของไทยให้มีมาตรฐานยิ่งขึ้น จึงมีแนวคิดปรับปรุงลีกระดับ 3 ขึ้นมาใหม่ ให้คล้ายคลึงกับ ไทยลีก 1 และ 2 มากขึ้น
ด้วยเหตุนี้ ลีกภูมิภาค หรือ ดิวิชัน 2 เดิม จึงถูกแบ่งออกเป็นสองลีก ได้แก่ ไทยลีก 3 (T3) และไทยลีก 4 (T4) โดยไทยลีก 3 จะคัดสโมสรที่จบอันดับที่ 1-4 จาก 8 โซนของ ลีกภูมิภาค ฤดูกาล 2016 จำนวน 32 ทีม มาแบ่งเป็นโซนบนและโซนล่าง ส่วนทีมที่ไม่ได้ผ่านการคัดเลือกมา จะต้องหล่นไปเล่นในไทยลีก 4 ที่มีการแบ่งโซนคล้ายลีกภูมิภาคเดิม
เหตุผลหลักที่ ส.บอล ตัดสินใจแบ่ง ลีกภูมิภาค เป็น T3 และ T4 เนื่องจากมองการเตรียมพร้อมคลับไลเซนส์เป็นสำคัญ เพราะสโมสรในลีกภูมิภาคส่วนใหญ่ ไม่มีความจริงจังในเรื่องนี้ การแบ่งลีกออกถึง 4 ระดับ จึงเป็นการเตรียมความพร้อมให้ทีมระดับล่าง ในเรื่องคลับไลเซนส์ไปทีละขั้น
อีกเหตุผลสำคัญ ที่ทำให้ลีกภูมิภาคต้องปิดฉาก แนวทางการพัฒนาเยาวชนที่บังคับให้สโมสรในระดับไทยลีกทุกทีม ต้องส่งทีม B ลงแข่งขัน เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการลงสนามแก่เยาวชน(ของสโมสรใหญ่) โดยสมาคมเลือกใช้พื้นที่ลีก T4 เป็นสนามแข่งขันให้ดาวรุ่งไทยได้ประลองฝีมือ
นอกจากนั้น สมาคมยังมีการกำหนดให้ทีมฟุตบอลที่อยู่ในระดับ T3 และ T4 ต้องส่งอายุไม่เกิน 23 ปี ลงสนามอย่างน้อย 2 คน และผู้เล่นอายุไม่เกิน 21 ปี ลงสนามอย่างน้อย 2 คน ในชื่อผู้เล่น 11 ตัวจริง รวมแล้วในหนึ่งเกม ทีมในระดับ T3 และ T4 จะต้องส่งผู้เล่นระดับเยาวชนลงสนามอย่างน้อย 4 คน
การเพิ่มโควตาเยาวชนในสองลีกล่าง คือส่วนหนึ่งของการปฏิรูปฟุตบอลลีกตามการสัมมนา Future of Thai League ที่ได้ชี้แจงว่า ในฟุตบอลลีกระดับดิวิชั่น 3 หรือ 4 ของประเทศฟุตบอลชั้นนำ ทั้ง เยอรมัน ,อังกฤษ และ ญี่ปุ่น ต่างมีค่าเฉลี่ยนักเตะอยู่ราว 25 ปี
สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย จึงเชื่อมั่นว่าลีกฟุตบอลในระดับล่าง เช่น ระดับ 3 หรือ 4 ควรมีหน้าที่เป็นฐานที่มั่นสำหรับการพัฒนานักฟุตบอลในระดับเยาวชน เพื่อเปิดโอกาสให้ดาวรุ่งเหล่านั้น แสดงฝีเท้า เพื่อก้าวสู่ลีกสูงสุด และทีมชาติ เป็นสำคัญ รวมถึงเป้าหมายการลดค่าเฉลี่ยอายุ และจำนวนนักเตะต่างชาติ ที่ใช้งานในลีกล่างด้วยเช่นกัน
รวมศูนย์อำนาจ : หนทางเพื่อเอกภาพของฟุตบอลไทย?
หากพิจารณาตามเจตนารมณ์ของสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ที่ต้องการพัฒนาเยาวชนให้มีฝีเท้าพร้อมเล่นลีกสูงสุดตั้งแต่อายุยังน้อย เพื่อก้าวไปเป็นกำลังของทีมชาติ และสามารถส่งออกไปเล่นยังลีกต่างแดนในช่วงอายุที่เหมาะสม
การเพิ่มโควตาเยาวชนในลีกล่าง รวมถึงบังคับให้สโมสรส่งทีมสำรองลงเล่นในลีกระดับล่าง ย่อมเป็นแนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องกับแนวทางดังกล่าว เนื่องจากจะมีการเทน้ำหนักในเรื่องของลีกสูงสุด และ ทีมชาติ ลงไปในลีกระดับล่าง มากกว่าที่เคยเป็นมาในยุคที่เป็นลีกภูมิภาค
กล่าวคือ ในช่วงเวลาที่ลีกระดับล่างสุด ยังคงเป็นลีกภูมิภาค แนวทางการพัฒนาเยาวชน เพื่อเตรียมพร้อมแก่การลงเล่นในลีกสูงสุด หรือทีมชาติ ไม่ถูกใส่เข้ามาในการแข่งขันระดับนี้ ตรงกันข้าม ลีกภูมิภาค ให้ความสำคัญไปที่การแข่งขันภายในท้องถิ่น การดึงดูดแฟนบอลเข้าสู่สนามผ่านการแข่งขันที่เข้มข้น
ความเปลี่ยนแปลงจากลีกภูมิภาค สู่ T3 และ T4 ของ ส.บอลฯ ยุคปัจจุบัน จึงเป็นการลดการกระจายอำนาจ เพื่อรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง ได้แก่ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย, ฟุตบอลทีมชาติ และ ฟุตบอลลีกสูงสุด
การเกิดขึ้นของแนวคิดรวมศูนย์อำนาจในฟุตบอลไทยยุคปัจจุบัน ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจ เพราะการรวมศูนย์อำนาจ ช่วยให้การจัดระเบียบปกครอง รวมถึงดำเนินนโยบายที่ส่วนกลางต้องการง่ายขึ้น และยิ่งมองไปยังความวุ่นวายของวงการฟุตบอลไทย ก่อนสมาคมชุดล่าสุดเข้ามา การใช้แนวคิดแบบรวมศูนย์อำนาจ กลายเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
อย่างไรก็ตาม แนวคิดรวมศูนย์อำนาจ จะสร้างความสำคัญเป็นลำดับขั้นอย่างชัดเจน ปัญหาการจัดสรรทรัพยากรจะไม่ทั่วถึง และขาดประสิทธิภาพ เนื่องจากขาดการกระจายอำนาจ ส่งผลให้อำนาจการตัดสินใจที่เกิดขึ้น เพื่อแก้ปัญหาหรือกำหนดนโยบายในพื้นที่ห่างไกล ไม่ได้มาจากคนในพื้นที่นั้น ก่อให้เกิดการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด และส่งผลเสียยิ่งขึ้นกว่าเดิม
ผู้ที่ต้องรับเคราะห์จาการรวมศูนย์อำนาจในฟุตบอลไทย จึงไม่ใช่ใครอื่นนอกจากสโมสรฟุตบอลในระดับภูมิภาค ที่ต้องรับแนวทางการพัฒนาเยาวชนของ สมาคมฟุตบอลฯ เพื่อพัฒนาและสร้างความสำเร็จของนักเตะในระดับลีกสูงสุดและทีมชาติ แม้แนวทางดังกล่าว จะทำให้ฟุตบอลสโมสรระดับภูมิภาค ถูกลดระดับความสำคัญลงอย่างน่าใจหาย
ตัวอย่างสำคัญที่ชัดเจน คือ การมอบเงินสนับสนุนแก่สโมสรในระดับ T3 และ T4 ปีละ 1 ล้านบาท เท่ากันทั้งสองลีก ทั้งที่การแข่งขันในระดับ T3 เป็นการแข่งขันระดับสูงกว่า ต้องใช้นักเตะที่ดีกว่าเพื่อลงแข่งขัน นั่นหมายถึงต้องใช้งบประมาณมากกว่า หากจะต้องการรักษาระดับ หรือเลื่อนชั้นขึ้นไปสู่ T2
ไม่เพียงเท่านั้น การแข่งขันในระดับ T3 ยังเป็นการแข่งขันที่คลอบคลุมเขตพื้นที่ใหญ่กว่า T4 สโมสรต้องเดินทางลงแข่งขันในพื้นที่ห่างไกลกว่า หมายความว่าใช้เงินทุนมากกว่า แต่กลับได้รับเงินสนับสนุนไม่ต่างจาก T4 ที่สำคัญ แฟนบอลยังต้องเดินทางไกลข้ามภูมิภาค ใช้เงินมหาศาล ต่างจากยุคลีกภูมิภาค ที่แค่ข้ามจังหวัดเท่านั้น
ปัญหาตรงนี้ คือตัวอย่างที่ชัดเจนของข้อเสียในการรวมศูนย์อำนาจ เพราะ สมาคมฟุตบอลฯ วางนโยบายที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนกลาง ไปยังพื้นที่ภูมิภาค แต่กลับไม่ให้ความช่วยเหลือในส่วนที่นอกเหนือนโยบาย จุดนี้ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างสโมสรในแต่ละลีก ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า รวยกระจุก จนกระจาย
“จริงๆ ผมเคยมานั่งวิเคราะห์อย่างจริงจังเลยนะ เรื่องการแบ่งลีก T3-T4 เพราะตอนนั้นความเห็นมันแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝั่งที่ไม่เห็นด้วยก็บอกว่า สมาคมฯ ทำไม่ดี ส่วนฝั่งที่เห็นด้วยก็มองว่ามันเป็นการคัดกรองคุณภาพทีมจริงๆ แต่ความจริงมันเป็นการมองคนละมุม และแต่ละรูปแบบก็มีข้อดี ข้อเสีย แตกต่างกันออกไป” ต่อ เจียงฮาย กล่าวเริ่ม
“สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ บรรดาสโมสรที่มีเงินในลีกภูมิภาคก็จะมากระจุกกันอยู่ใน ไทยลีก 3 ทั้งที่ชื่อชั้นไม่ได้ต่างกับพวกทีมไทยลีก 4 แต่ระบบการจัดการดีกว่า ทุนหนากว่า ถ้าเปรียบกับพรีเมียร์ลีกก็เหมือนแบ่งเอา ลิเวอร์พูล เชลซี แมนฯ ซิตี้ และพวกทีมใหญ่ๆ มาอยู่ลีกบน ส่วนพวกเกรดกลางๆ ล่างๆ ไปอยู่อีกลีก”
“อย่าลืมว่า คนที่จะดูฟุตบอลแต่ละนัดมันไม่ใช่เกิดจากปัจจัยแค่ว่า การเข้าเชียร์ทีมบ้านเกิด แต่มันขึ้นอยู่ด้วยว่าคู่แข่งที่เขาเจอคือใคร ยกตัวอย่าง บุรีรัมย์ เมืองทอง ไปเยือนสนามไหน คนดูก็เยอะตลอด ในลีกล่างก็เช่นกัน สมมุติโซนหนึ่งมี 10 กว่าทีม มันมีแค่ 2-3 ทีมเท่านั้นแหละที่เป็นทีมใหญ่ ซึ่งเขาก็หวังว่าจะได้เจอกับทีมพวกนี้ เพื่อเพิ่มกระแส”
“ขณะเดียวกันสโมสรในลีกล่างและสมาคม ก็ยังไม่ได้พยายามหาวิธีการในการทำกิจกรรมหรือมีส่วนรวมกับแฟนบอล นักบอลก็ยังมีหน้าที่แค่เล่นฟุตบอลอย่างเดียว ไม่ได้คิดว่า ฟุตบอลคือความบันเทิงอย่างหนึ่ง ที่คนเสียเงินซื้อตั๋วเข้ามาชม”
เมื่อคนทำทีมมองเห็นว่าการขึ้น T3 เป็นทางผ่านที่ได้ไม่คุ้มเสีย พาทีมฟุตบอลขึ้นไป แฟนท้องถิ่นก็ไม่ตามไปเชียร์ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากผู้ริหารสโมสร T4 หลายราย จะเลือกถอนทีมแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย เนื่องจากคนทำทีมมองเห็นแล้วว่า การเดินทางสู่ลัดสูงสุด ยากขึ้นกว่าเดิมมาก และไม่ได้รับแรงสนับสนุนเท่าที่ควร
การรวมศูนย์อำนาจไม่ได้ส่งผลร้ายแก่ภูมิภาค ในแง่เม็ดเงินเพียงอย่างเดียว ในแง่นโยบายเปล่าก็สร้างปัญหาให้เกิดขึ้นได้เช่นกัน ดั่งเช่นนโยบายโควตานักเตะเยาวชน และจำกัดโควตานักเตะต่างชาติ ที่จะลดความแข็งแกร่งของสโมสรในระดับรากหญ้าจนแทบจะตั้งตัวไม่ได้
สิ่งที่จะเกิดขึ้นในฤดูกาล 2021 สโมสรในระดับ T3 และ T4 จะถูกบังคับให้ส่งเยาวชนลงเป็นตัวจริง 4 คน แถมยังถูกโควตาต่างชาติถูกลดลงให้ลงสนามได้เพียง 3 คน ต่างจากลีกสูงสุดที่ส่งผู้เล่นต่างชาติลงได้สูงถึง 7 คน จะเห็นได้ชัดว่านโยบายพัฒนาเยาวชนของสมาคมฟุตบอลฯ บีบบังคับสโมสรในระดับภูมิภาค เพื่อประโยชน์ของส่วนกลางแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย
การลดจำนวนผู้เล่นต่างชาติ จนน้อยกว่าผู้เล่นในระดับเยาวชน ที่ฝีเท้ายังไม่ถึงขั้น ทำให้คุณภาพของฟุตบอลในระดับ T4 อันมีศักดิศรีเป็นลีกภูมิภาคเดิม ลดลงอย่างน่าใจหาย เมื่อคุณภาพฟุตบอลลดลง แฟนบอลก็เริ่มจะห่างหาย เพราะถึงอย่างไร แฟนบอลทุกคนต้องการเห็นทีมตัวเองเล่นฟุตบอลคุณภาพดี ไม่ได้ตีตั๋วเข้ามาเพื่อดูฟุตบอลมหาลัยในระดับอาชีพ
ซ้ำราย ทีม B ของสโมสรระดับลีกสูงสุดที่กระจายอยู่เต็มลีก ยิ่งทำให้ฟุตบอล T4 เหมือนลีกฟุตบอลของเด็กมหาลัยเข้าไปใหญ่ การเพิ่มทีม B ลงไปในลีก T4 คืออีกหนึ่งจุดสำคัญที่บอกว่า สมาคมฟุตบอลชุดนี้ให้ความสำคัญกับส่วนกลางในวงการฟุตบอลไทยมากแค่ไหนในปัจจุบัน
การเพิ่มพื้นที่ให้เยาวชนลงสนามแบบเต็มขั้น ยังทำร้ายผู้เล่นในระดับอายุเกิน 23 ปี เพราะเป็นการจำกัดพื้นที่ในการประกอบอาชีพนักฟุตบอล ปัญหานักเตะว่างงานจึงเริ่มเห็นชัดในช่วงปีหลัง
แต่สุดท้ายการแก้ปัญหาแก่นักเตะลีกล่างที่ว่างงาน ยังไม่ได้รับการแก้ไข เนื่องจากส่วนกลางมีลำดับขั้นตอนของสิ่งที่ควรจะทำก่อน-หลัง ชัดเจนเป็นลำดับขั้นตอนต่อไป
ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการรวมศูนย์อำนาจของ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ยังคงเป็นปัญหาที่แฟนฟุตบอลลีกภูมิภาคต้องการคำตอบ ทุกวันนี้มีสโมสรมากมายในระดับ T3 และ T4 ส่งนักเตะเยาวชนเป็นตัวจริง เพื่อเปลี่ยนตัวออกอย่างรวดเร็ว แต่จนแล้วจนรอด กลับมีการเพิ่มโควตาเยาวชนขึ้นอีก ตามแผนการพัฒนาของส่วนกลาง แม้จะเกิดปัญหาในฟุตบอลสโมสรระดับภูมิภาคอยู่ก็ตาม
ทุกวันนี้ แผนงานพัฒนาเยาวชนผ่านการลงเล่นใน T3 และ T4 ของสมาคมชุดปัจจุบัน ยังคงไม่ประสบความสำเร็จ ดูได้จาก ผู้เล่นทีมชาติไทย ชุดอายุไม่เกิน 23 ปี ในศึกชิงแชมป์เอเชีย ก็ไม่มีนักเตะจาก T3 และ T4 แม้แต่คนเดียว
แต่ด้วยนโยบายของสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ที่ยังคงเชื่อมั่นในแนวทางดังกล่าว ว่าสุดท้าย T3 และ T4 จะเป็นรากฐานความสำเร็จของ ทีมชาติไทย และ สโมสรลีกสูงสุด เรื่องราวเหล่านี้ที่เกิดขึ้นใน T3 และ T4 จึงยังคงต้องดำเนินต่อไป
การรวมศูนย์อำนาจมีข้อดีในการสร้างเอกภาพ เพื่อจะเดินตามเป้าหมายที่ส่วนกลางตั้งไว้อย่างรวดเร็ว แต่ในทางกลับกัน การรวมอำนาจ ไม่อาจก่อให้เกิดพัฒนาอย่างทั่วถึง และสร้างปัญหาความเหลื่อมล้ำในพื้นที่นอกการพัฒนา
แนวทางและปัญหาที่เกิดขึ้นจากการล่มสลายของลีกภูมิภาค เป็นเพียงภาพสะท้อนของสิ่งที่เกิดขึ้นจากการรวมศูนย์อำนาจในประเทศไทย ไม่เพียงแค่ในแวดวงฟุตบอลไทย แต่ยังรวมไปถึงการเมืองระดับชาติ ดั่งที่เราเห็นกันในประเทศไทยทุกวันนี้
หน้าแรก >>> https://www.ufabetwins.com/
อ่านข่าวอื่นๆที่ >>> https://www.montadaphp.net/