UFABETWINS ไขข้อสงสัย : “หญ้าเทียม” มีโอกาสทำให้นักกีฬาเจ็บกว่า “หญ้าจริง” จริงหรือ?
UFABETWINS หนึ่งในกิจกรรมยอดนิยมหลังเลิกงานของหนุ่มออฟฟิศ คงหนีไม่พ้น การเตะบอลบนสนามหญ้าเทียม แต่ออกตัววิ่งไม่เท่าไร
หลายคนกลับบาดเจ็บหัวเข่า หรือ ข้อเท้า จนใช้ชีวิตลำบากนานหลายเดือน ชวนอดคิดไม่ได้ว่า สนามหญ้าเทียมมีผลกับอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นแค่ไหน Main Stand หาคำตอบว่า หญ้าเทียมทำให้นักกีฬามีโอกาสบาดเจ็บ มากกว่าหญ้าจริงแค่ไหน ? ผ่านคำบอกเล่า และประสบการณ์จริงของนักอเมริกันฟุตบอล รวมถึงงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์
ที่บ่งชี้ไปทางเดียวกัน เสียงจากนักกีฬา สนามหญ้าเทียมได้รับความนิยมอย่างมากในกีฬาอเมริกาฟุตบอล ปัจจุบัน มี 15 ทีมจากทั้งหมด 32 ทีมใน NFL ที่ใช้พื้นสนามรังเหย้าเป็นหญ้าเทียม กล่าวคือ อัตราส่วนของสนามหญ้าเทียม กับ สนามหญ้าจริง ในอเมริกันฟุตบอล แทบจะแบ่งกันครึ่งต่อครึ่ง คำถามที่เกิดขึ้นต่อสนามหญ้าเทียมใน NFL เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน
ที่ผ่านมา หลังสมาคมผู้เล่น NFL หรือ NFL Players’ Association (NFLPA) ออกแถลงการณ์ชื่อ “Only Natural Grass Can Level The NFL’s Playing Field” เรียกร้องให้ยุติการใช้สนามหญ้าเทียม โดยเปลี่ยนให้ทุกแห่งเป็นหญ้าจริง ในแถลงการณ์ระบุสถิติอาการบาดเจ็บของผู้เล่นใน NFL ช่วงปี 2012-2018 แสดงเห็นถึงข้อมูลที่บอกว่า พื้นสนามหญ้าเทียม
ก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บโดยปราศจากการปะทะ (non-contact injuries) มากกว่าหญ้าจริง 28 เปอร์เซ็นต์ แบ่งเป็นอาการบาดเจ็บที่หัวเข่าเพิ่มขึ้น 32 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอาการบาดเจ็บที่เท้า หรือ ข้อเท้า เพิ่มขึ้นสูงถึง 69 เปอร์เซ็นต์ “ข้อมูลและตัวเลขที่ออกมา แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของอัตราการเกิดอาการบาดเจ็บ (ระหว่างสนามทั้ง 2 แบบ)
ทุกฝ่ายควรทำงานร่วมกันเพื่อหาวิธีที่ปลอดภัย เพราะเรารู้ดีว่าการเล่นในสนามหญ้าเทียมอันตรายแค่ไหน” เจ ซี เทรตเตอร์ ผู้เล่นตำแหน่งเซ็นเตอร์ของคลีฟแลนด์ บราวน์ส และประธาน NFLPA กล่าว “สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ส่งผลดีต่อผู้เล่น, เฮดโค้ช, ผู้จัดการทีม, เจ้าของ และแฟนบอล อาการบาดเจ็บที่เพิ่มขึ้นจากสนามหญ้าเทียม ไม่ส่งผลดีต่อใครทั้งนั้น”
เสียงจากผู้เล่นอเมริกันฟุตบอล ถึงปัญหาอาการบาดเจ็บที่เพิ่มขึ้นจากสนามหญ้าเทียม ดังขึ้นตั้งแต่ 10 ปีที่แล้ว NFLPA เคยขอความร่วมมือผู้เล่น 1,619 ราย แสดงความเห็นเกี่ยวกับพื้นสนามแข่งขัน เมื่อปี 2010 ผู้เล่น 82 เปอร์เซ็นต์เห็นตรงกันว่า สนามหญ้าเทียมก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บมากกว่าหญ้าจริง และมี 90 เปอร์เซ็นต์ที่คิดว่าสนามหญ้าเทียม
ส่งผลให้อาชีพนักอเมริกันฟุตบอลของผู้เล่น มีอายุใช้งานสั้นลง “ผมไม่ชอบการเล่นบนสนามหญ้าเทียม มันไม่มีผลดีเลยสักนิด เมื่อเราเล่นฟุตบอลบนหญ้าจริง พื้นสนามจะช่วยรองรับแรงกระแทก แต่ถ้าคุณทิ้งน้ำหนักตัวทั้งหมดลงไปในพื้นหญ้าเทียม คุณจะรู้ว่ามันไม่ช่วยอะไรเลย นอกจากทำร้ายร่างกายของคุณ” มินกาห์ ฟิตซ์แพทริก ผู้เล่นตำแหน่งเซฟตี้ของ
พิตต์สเบิร์ก สตีลเลอร์ส กล่าว NFLPA พยายามแสดงออกถึงผลเสียของการเล่นบนหญ้าเทียมมาตลอด แต่ไม่มีฝ่ายไหนสนใจแก้ปัญหาอย่างจริงจัง สนามขนาดใหญ่อย่าง Metlife Stadium ที่มีนิวยอร์ค ไจแอนท์ส และนิวยอร์ค เจ็ตส์ ร่วมใช้งาน ยังคงใช้พื้นสนามเป็นหญ้าเทียม เช่นเดียวกับ SoFi Stadium สนามทุนสร้าง 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ที่เพิ่งเปิดใช้งานในปี 2020 ของลอสแอนเจลิส แรมส์ และลอสแอนเจลิส ชาร์จเจอร์ส ก็เลือกใช้พื้นสนามเป็นหญ้าเทียม ผลลัพธ์จากการละเลยปัญหา กลับมาทำร้ายบุคลากรในวงการอเมริกันฟุตบอล โดยเฉพาะในฤดูกาล 2020 แซค แบนเนอร์ แทคเกิลของพิตต์สเบิร์ก สตีลเลอร์ส บาดเจ็บเส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่า หรือ ACL (anterior cruciate ligament)
ฉีกขาด ตั้งแต่การแข่งขันอาทิตย์แรก หลังลงเล่นใน Metlife Stadium เกมที่พบกับนิวยอร์ค ไจแอนท์ส เช่นเดียวกับเพื่อนร่วมทีม เจมส์ คอนเนอร์ ผู้เล่นตำแหน่งตัววิ่งที่บาดเจ็บข้อเท้าจากเกมเดียวกัน สัปดาห์ถัดมา มีผู้เล่นอีก 2 รายได้รับอาการบาดเจ็บจากพื้นหญ้าเทียมของ Metlife Stadium โซโลมอน โทมัส และนิก โบซา สองผู้เล่นจากทีมรับของ
ซานฟรานซิสโก โฟร์ตีไนเนอร์ส บาดเจ็บ ACL ฉีกขาด ต้องพักยาวทั้งฤดูกาลในเกมเดียวกัน เท่ากับว่า สนามหญ้าเทียมแห่งนี้ ทำหผู้เล่นพักยาวจากปัญหา ACL ถึง 3 คน ภายใน 2 สัปดาห์ “มีอาการบาดเจ็บมากมายที่หัวเข่า และข้อเท้า จากการลงเล่นในสนามหญ้าเทียม นับตั้งแต่ผมเข้ามารับงานที่นี่” ไคล์ แชนนาแฮน เฮดโค้ชของซานฟรานซิสโก โฟร์ตีไนเนอร์ส
ให้สัมภาษณ์หลังเสียผู้เล่นตัวหลัก “ผมรู้ว่าผู้เล่นของเราพูดถึงเรื่องนี้ตลอดทั้งเกม พวกเขาบอกว่าสนามหญ้าเทียมแย่แค่ไหน นี่คือปัญหาบางอย่างที่ทุกฝ่ายควรตระหนักเห็นได้แล้ว” เสียงจากงานวิจัย ไม่ใช้แค่ผู้เล่นในอเมริกันฟุตบอล ที่พยายามแสดงออกให้เห็นถึงความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการเล่นกีฬาบนสนามหญ้าเทียม งานวิจัยจากหลายสถาบัน
แสดงผลลัพธ์ในทิศทางเดียวกันว่า สนามหญ้าเทียมสร้างความเสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บ มากกว่าพื้นสนามหญ้าจริง บทความ “Which is playing surface is safer for playing high school sports?” ที่เปิดเผยในปี 2019 จาก University Hospitals ชี้ว่า การเล่นกีฬาบนสนามหญ้าเทียม ก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บมากกว่าหญ้าจริง 58 เปอร์เซ็นต์ โดยมีการเก็บสถิติจากผู้เล่น
หลายกีฬา ทั้ง ฟุตบอล, อเมริกันฟุตบอล และรักบี้ เมื่อศึกษาให้ลึกกว่านั้น Orthopaedic Journal of Sports Medicine สื่อกีฬาที่ศึกษาเรื่องการแพทย์โดยเฉพาะ เปิดเผยงานวิจัยชื่อว่า “Effect of Changes in Artificial Turf on Sports Injuries in Male University Soccer Players” ศึกษาเรื่องอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นของนักฟุตบอลในระดับมหาวิทยาลัยบนสนามหญ้า
เทียม เมื่อปี 2017 ผลลัพธ์จากงานวิจัยกล่าวว่า ผู้เล่นที่เคยลงเล่นสนามหญ้าจริง จะมีอาการบาดเจ็บเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเปลี่ยนมาเล่นสนามหญ้าเทียม โดยรายงานระบุว่า เม็ดยางที่อยู่บนพื้นหญ้าเทียมช่วยลดปัญหาบาดเจ็บกล้ามเนื้อช่วงล่างของร่างกาย แต่ไม่มีผลต่อการลดปัญหาบาดเจ็บช่วงบน โดยเฉพาะการกระทบกระเทือนทางศีรษะ ที่หญ้าเทียมก่อให้
เกิดอาการบาดเจ็บมากกว่าหญ้าจริง ข้อสรุปจากงานวิจัยดังกล่าวสอดคล้องกับ งานวิจัยของมหาวิทยาลัยวอชิงตันแห่งเซนต์หลุยส์ ชื่อ “Does the Use of Artificial Turf Contribute to Head Injuries?” เพื่อศึกษาอาการบาดเจ็บบริเวณศีรษะจากการเล่นกีฬาบนสนามหญ้าเทียม หลังผู้เล่นอเมริกันฟุตบอลหลายรายต้องยุติอาชีพ จากการกระทบกระเทือนทางสมองบนสนามหญ้าเทียม
คลิ๊กเลย >>> https://www.ufabetwins.com/
อ่านข่าวเพิ่ม >>> บ้านผลบอล