UFABETWIN แกรห์ม พอตเตอร์ : กุนซือไบรท์ตัน กับแนวทางสร้าง “คน” ก่อน “นักฟุตบอล” ไว้ทีหลัง

หากพูดถึงทีมในพรีเมียร์ลีกที่มีระบบการเล่น “แข็งแกร่งและชัดเจน” เป้าใหญ่คงหนีไม่พ้นทีมอย่าง แมนเชสเตอร์ ซิตี้ หรือ ลิเวอร์พูล เป็นแน่แท้

ทว่ามีทีม ๆ หนึ่งที่ใช้นักเตะบ้าน ๆ ซื้อมาราคาถูก ๆ แต่กลับเล่นบอลระบบสไตล์โมเดิร์นฟุตบอลได้อย่างน่าชื่นชมไม่แพ้กันนั่นคือ ไบรท์ตัน

สโมสรแห่งนี้เพิ่งเลื่อนชั้นมาสู่ลีกสูงสุดเมื่อปี 2017 ทว่าหลังจากที่พวกเขาเลือกเชื่อมือกุนซือหนุ่มนามว่า แกรห์ม พอตเตอร์ ทุกสิ่งทุกอย่างก็เปลี่ยนไป

 

จากทีมหนีตกชั้นสู่กระดูกชิ้นใหญ่ที่เหล่าบิ๊กทีมก็ยังเอาไม่ค่อยลง จากฟุตบอลโยนแบบโบราณสู่บอลเซตกับพื้นต่อจากหลังไปหน้า … พอตเตอร์ เปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร ?

นักเตะสุดห่วยที่แฟนบอลโห่ใส่

หากย้อนกลับไปตอนที่ไบรท์ตันแต่งตั้ง แกรห์ม พอตเตอร์ เขาคือโค้ชที่โลว์โปรไฟล์แบบสุด ๆ เพราะถึงแม้เขาจะเป็นคนอังกฤษ แต่พอตเตอร์ก็ไม่เคยมีเกียรติประวัติด้านดี ๆ มากนักทั้งตอนเป็นนักเตะและตอนเป็นกุนซือ

 

 

สมัยเป็นนักเตะ พอตเตอร์เป็นสมาชิกของทีมอคาเดมี่ของ เบอร์มิงแฮม เขาเป็นนักเตะแบบอังกฤษขนานแท้ เล่นวิงแบ็ก ตัวสูง ใจสู้ แต่ปัญหาก็คือเมื่อลงเล่นในเกมระดับอาชีพจริง ๆ พอตเตอร์กลับยังขาดอะไรอีกมากมาย ทั้ง ความเร็ว ความเข้าใจเกม และความแข็งแกร่ง ทุกอย่างผิดเพี้ยนไปหมด … นี่คือเรื่องที่เขาเล่าถึงตัวเองสมัยเป็นนักเตะ

พอตเตอร์เล่าว่าเขามีเหตุการณ์จำฝังใจสมัยยังเป็นนักเตะของเบอร์มิงแฮม เขาถูกโปรโมตขึ้นมาเล่นทีมชุดใหญ่ในปี 1992 เพราะกุนซือ เทอร์รี่ คูเปอร์ ชอบความเป็นนักสู้ของเขา จึงให้โอกาสพอตเตอร์ได้ลงเล่นระดับอาชีพครั้งแรกตั้งแต่อายุ 17 ปี ทว่าโอกาสลงสนามครั้งนั้นกลายเป็นประสบการณ์จำฝังใจของพอตเตอร์เลยก็ว่าได้

“เทอร์รี่ คูเปอร์ เชื่อมั่นในตัวผมมาก ตอนนั้นผมเองก็มั่นใจในตัวเองสูง ออกแนวมากเกินไปด้วยซ้ำ เขาผลักดันผมขึ้นมาจากทีมเยาวชนสู่ทีมชุดใหญ่ คุณรู้อะไรมั้ย ตอนผมอายุ 18 ปีผมก็เล่นเกมลีกไปแล้วเกือบ 30 เกม”

“โค้ชบอกว่าผมร่างกายดี มีคุณสมบัติที่ซ่อนอยู่ แต่คุณรู้ไหมว่าความจริงผมโดนแฟนเบอร์มิงแฮมโห่ไล่ตอนที่ผมโดนเปลี่ยนตัวในเกมกับนิวคาสเซิล จากนั้นมันก็เป็นแบบนี้บ่อย ๆ แต่ก็เป็นเรื่องดีเพราะมันทำให้ผมเรียนรู้อย่างรวดเร็วว่าในวงการฟุตบอล ถ้าผลงานห่วย ไม่ว่าคุณจะเป็นเด็กท้องถิ่น นักเตะหนุ่มของสโมสร หรือจะเป็นใครก็ช่าง คุณมีสิทธิ์โดนโห่ไล่ได้ทั้งนั้น … ความจริงที่เจ็บปวดนี้แหละที่กลั่นให้ผมเข้าใจโลกมากขึ้น ผมรู้แล้วว่าโลกที่ผมอยู่เป็นอย่างไร” พอตเตอร์ กล่าว

 

 

พอตเตอร์ใช้ชีวิตนักเตะครึ่งบกครึ่งน้ำอยู่สักพัก กล่าวคือเล่นดี 1 เกมอีก 2 เกมเล่นแย่ สลับไปสลับมาไม่มีความต่อเนื่อง ช่วงที่ดีที่สุดในชีวิตของเขาคือการก้าวขึ้นมาติดทีมชาติอังกฤษชุดยู-21 มาแล้ว (1 เกม) แต่หลังจากการก้าวพ้นจากการเป็นดาวรุ่ง พอตเตอร์ก็เดินทางสู่ขาลงยาว ๆ จากที่เคยได้เล่นในพรีเมียร์ลีกก็ไม่ได้รับการต่อสัญญา หลังจากนั้นก็ไปเล่นในระดับดิวิชั่น 1 จนกระทั่งหลุดยาวไปจนถึงการเล่นให้กับทีมในลีกทูอย่าง แมคเคิลสฟิลด์ ทาวน์

จนกระทั่งปี 2005 เขาและภรรยาตกลงปลงใจแต่งงานกัน และในวันแต่งงานนั้น พอตเตอร์ในวัย 30 ตัดสินใจแล้วว่าการเป็นแบ็กซ้ายของทีมจากลีกทูนั้นเป็นเรื่องยากมากที่จะทำให้ครอบครัวมีกินมีใช้ เขาจึงเริ่มทบทวนและคิดว่าเวลาของเขาในฐานะนักเตะอาชีพน่าจะมีแต่ขาลงต่อจากนี้

เริ่มก่อน รู้ก่อน

ตอนที่พอตเตอร์ตัดสินใจจะแขวนสตั๊ด คนรู้จักของเขาหลายคนก็ทักว่าเป็นความคิดที่ไม่ค่อยฉลาดนัก เขาควรค้าแข้งให้ได้นานที่สุด เพราะนักเตะอาชีพระดับลีกทูนั้นแม้จะได้เงินไม่มากแต่ก็ดีกว่าตกงานหรือไปทำอาชีพอื่นสำหรับคนที่ไม่มีวุฒิการศึกษา

“ผมรีไทร์จากฟุตบอลตอนอายุ 30 โดยไม่มีแผนอะไรในหัวเลย ผมเลยคิดว่าจะเอาเวลาไปเรียนหนังสือเพื่อให้ได้เป็นครูหรือโค้ชน่าจะดีกว่า ผมก็เลยตั้งใจอย่างมากที่จะเรียนให้จบและศึกษาเรื่องต่าง ๆ ให้มาก เพราะผมจะได้ไม่ต้องรู้สึกด้อยค่าเหมือนตอนเป็นนักเตะ”

 

UFABETWIN

 

พอตเตอร์แน่วแน่มาก เขาบอกว่าไม่ว่าจะเริ่มตอนไหนก็ต้องเจอกับความลำบากอยู่ดี ดังนั้นจะเร็วจะช้าเขาก็ต้องเลิกเป็นนักฟุตบอลในสักวัน เขาเชื่อว่าการตัดสินใจที่ถูกต้องคือการเลิกตั้งแต่รู้ว่าไม่มีทางที่จะดีขึ้นกว่าเดิมกับอาชีพนี้

พอตเตอร์เริ่มลงเรียนระดับปริญญาตรีด้านสังคมศาสตร์ และหลังจากเรียนจบพอตเตอร์ก็ได้งานทำในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายพัฒนาฟุตบอลที่มหาวิทยาลัยฮัลล์ เงินเดือนของเขาคือ 17,000 ปอนด์ต่อ 1 ปี (ราว 750,000 บาท หาเทียบค่าเงินปัจจุบัน)

การทำงานที่นั่นแม้จะไม่ได้ทำให้มีโปรไฟล์หรูแต่ก็เปิดโลกใหม่ให้กับเขาที่อยู่กับฟุตบอลมาทั้งชีวิต เพราะเขาต้องทำงานร่วมกับคนอื่น ๆ จากสายอาชีพต่าง ๆ นั่นเป็นข้อดีที่ทำให้เขาได้เห็นมุมมอง แนวคิด ทัศนคติ ที่สามารถเอามาปรับใช้กับตัวเขาเองได้

“สวรรค์เลยล่ะ คุณถูกห้อมล้อมด้วยคนระดับหัวกะทิจากสายอาชีพอื่น นักวิทยาศาสตร์การกีฬา, นักจิตวิทยา, บุคลากรจากคณะธุรกิจ และอีกมากมายหลายคน ถ้าคุณได้ทำงานร่วมกับคนเหล่านี้คุณจะตั้งคำถามกับตัวเองแบบอัตโนมัติเลยว่า ‘แล้วนี่เราจะพัฒนาตัวเองด้วยแนวทางของเราได้ไหม ?'”

 

พอตเตอร์อาจจะอายุมากแล้วสำหรับคนจบปริญญาตรีใหม่ ๆ แต่เขาก็พร้อมที่จะเรียนรู้และรับทุกข้อเสนอที่มาถึง ช่วงเวลาที่ทำงานกับมหาวิทยาลัยฮัลล์ พอตเตอร์ได้ลองทำงานเป็นผู้อำนวยการเทคนิคของทีมชาติกานาหญิง ที่ไปแข่งขันฟุตบอลโลกหญิงปี 2007 นอกจากนี้เขายังเคยทำงานเป็นผู้ช่วยโค้ชให้กับทีมมหาวิทยาลัยอังกฤษ จากนั้นเขาก็เรียนต่อจนจบระดับปริญญาโทด้านมานุษยวิทยา

ถ้าคุณสงสัยว่าทำไมพอตเตอร์จึงเป็นโค้ชที่ดี การเรียนและประวัติการทำงานของเขาในช่วงนี้มีส่วนอย่างมาก เขาเข้าใจแนวคิด วิธีการใช้คน รวมถึงการย่อยข้อมูลต่าง ๆ ทฤษฎีใหม่ ๆ ที่จะสามารถส่งต่อให้กับคนอื่นได้ดีกว่า

 

“คุณเชื่อไหมล่ะว่าการสื่อสารนั้นมีมากมายหลายแบบ วิธีที่ดีที่สุดสำหรับงานที่ต้องการผลลัพธ์ที่ดีที่สุดคืออะไรรู้ไหม ? มันคือการพูดตรง ๆ กับสิ่งที่ตัวเองคิด ถ้าอยากได้อะไรจากคนอื่นคุณต้องบอกพวกเขาไปอย่างตรงจุดและพูดมันออกไปอย่างจริงใจ เราจะพูดแต่สิ่งที่ทำให้เกิดประโยชน์ ไม่ใช่แค่พูดในสิ่งที่คู่สนทนาของเราอยากจะฟัง … ยิ่งคุณเข้าใจเรื่องการสื่อสารกับคนอื่นมากเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งตระหนักได้ว่ามันสร้างประโยชน์ให้กับคุณขนาดไหน” พอตเตอร์ กล่าว

เมื่อถึงเวลาที่ใช่โอกาสจะเดินเข้ามาหาคุณ และถ้าคุณคิดจะคว้ามัน คุณต้องรู้ตัวเองให้แน่ชัดว่าคุณรู้เกี่ยวกับสิ่งนั้นจริง ๆ … พอตเตอร์อิ่มตัวกับงานเบื้องหลังที่เรียนรู้จากหลากหลายศาสตร์มาตลอด 6 ปี ถึงเวลาแล้วที่เขาจะเอา แกรห์ม พอตเตอร์ คนใหม่กลับสู่วงการฟุตบอลอีกครั้ง

 

ข้อเสนอครั้งใหม่มาจากทีมจากลีกสวีเดนอย่าง ออสเตอร์ซุนด์ส พอตเตอร์ตกปากรับคำ และเส้นทางยอดโค้ชก็ได้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการในปี 2011

เริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ

ออสเตอร์ซุนด์ส ในวันที่พอตเตอร์มาถึงเป็นสโมสรเล็ก ๆ จากลีกรองของสวีเดนที่แทบไม่มีกองเชียร์ เขาเล่าว่าเกมในบ้านนัดแรกที่เขาคุมทีมมีแฟนบอลเข้ามาชมเกมแค่ 200 คนเท่านั้น

เหตุผลไม่ใช่มาจากความห่วยของทีมฟุตบอล แต่ออสเตอร์ซุนด์สคือหนึ่งในเมืองที่หนาวเย็นที่สุดของสวีเดน บางครั้งอุณหภูมิก็ติดลบถึง 25 องศาเซลเซลเซียสเลยทีเดียว ผู้คนที่นั่นจึงนิยมกีฬาอย่างสกีและสเกตน้ำแข็งมากกว่าที่จะชมเกมฟุตบอล แน่นอนว่านักเตะในทีมก็เป็นระดับกึ่งอาชีพที่ต้องขัดเกลาอีกมาก นี่เป็นช่วงเวลาที่พอตเตอร์ได้เอาวิชาสมัยที่ทำงานในมหาวิทยาลัยมาใช้ทุกเม็ด เริ่มต้นด้วยการสื่อสารและซื้อใจคน

 

“ผมเริ่มเห็นสิ่งที่สโมสรนี้ต้องทำอีกมาก เรื่องราวมากมายเข้ามากวนประสาทผมในช่วง 18 เดือนแรกที่ทำงาน ผมใช้เวลาไปอย่างมากกับการคุยกับนักเตะ สตาฟโค้ช และแฟน ๆ เพราะผมอยากให้ทุกคนมีส่วนร่วมกับสโมสรแห่งนี้” พอตเตอร์ กล่าว

“ผมเข้าไปหา แดเนี่ยล คินด์เบิร์ก ประธานสโมสร เราคุยกันนานมาก ๆ ถึงวิธีที่จะทำให้นักเตะของเราพัฒนาแบบองค์รวมได้ และเราจะช่วยพวกเขาในแง่มุมจากมนุษย์คนหนึ่งในยามที่พวกเขาไม่ได้แข่งขันในสนามได้อย่างไร”

ว่ากันว่าเขาเปิดคอร์สเต้นรำ ร้องเพลง เขียนหนังสือ และการแสดง เขานำผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านมาสอนนักเตะในบางช่วงเวลา พอตเตอร์เริ่มนำสิ่งที่เขามีมาใช้ นั่นคือวิธีการละลายพฤติกรรมนักเตะที่จะทำให้ลูกน้องของเขารู้สึกสบายใจที่จะทำงานหรือแม้แต่ตอนเจอสถานการณ์ที่ยากลำบาก

“จะบอกว่าแหกคอกก็ได้ แต่บางครั้งการแก้ปัญหาเรื่องฟุตบอลก็ไม่จำเป็นจะต้องใช้เรื่องฟุตบอลมาแก้ปัญหาอย่างเดียว มีอีกหลากหลายเรื่องราวและหลายศาสตร์ที่สามารถเอามาปรับใช้ได้ ผมพยายามสร้างแนวคิดความเป็นผู้นำให้ทุกคนรู้และรับผิดชอบหน้าที่ของตัวเอง ใส่ใจกับงานที่ทำ รับผิดชอบมันอย่างสุดความสามารถ มีแรงจูงใจในการใช้ชีวิต ยิ่งคุณทำมากเทาไหร่คุณจะได้สิ่งต่าง ๆ ตอบแทนกลับมา โดยเฉพาะการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนรอบข้าง” พอตเตอร์ กล่าว

ไบรอัน เวค นักเตะของออสเตอร์ซุนด์ส พูดถึงพอตเตอร์ว่าเป็นคนที่มาปรับวัฒนธรรมของทั้งองค์กร เขาทำให้ทุกคนอยากเป็นนักเตะที่ดีขึ้นและเป็นมนุษย์ที่ส่งต่อความสุขให้กัน สิ่งเหล่านี้ทำให้ทีมกลายเป็นทีม และที่สุดแล้วออสเตอร์ซุนด์สก็กลายเป็นทีมที่ยอดเยี่ยม โดยผลงานในตำนานคือการบุกชนะ อาร์เซนอล ที่นำโดย อาร์แซน เวนเกอร์ ใน ยูโรปา ลีก ฤดูกาล 2017-18 รอบ 32 ทีม แม้มันจะไม่ดีพอสำหรับการเข้ารอบหลังเกมแรกแพ้คาบ้านมายับเยินก็ตาม

 

UFABETWIN

 

“ทีมของเราเยี่ยมมาก ถ้าเราแข่งชนะ สตาฟโค้ชและนักเตะจะได้ดื่มไวน์สักแก้วหลังจบเกม สิ่งเหล่านี้เริ่มต้นจากวันที่ แกรห์ม เข้ามา เขาเป็นคนตลก พูดจาเพราะน่าฟัง แต่เมื่อถึงเวลาซ้อมเขานี่แหละที่สอนให้เรารู้ว่าการรับผิดชอบงานที่ทำคืออะไร เพราะเขาจะเป็นคนที่ดุเอาเรื่อง เขาตั้งมาตรฐานไว้สูงมาก เราซ้อมกันอย่างเข้มและจริงจัง เขาอยากให้นักเตะในทีมเป็นผู้เล่นที่ดีที่สุดเท่าที่พวกเขาจะเป็นได้” เวค กล่าว

พอตเตอร์พาทีมคว้าแชมป์ฟุตบอลถ้วยในประเทศ ฝากผลงานในเวทีระดับยุโรป โดยเฉพาะวันที่บุกชนะอาร์เซนอล สื่ออังกฤษลงข่าวเกี่ยวกับเขามากกว่าตอนที่เขาเป็นนักเตะเสียอีก เรื่องราวของวิธีทำทีมและการจัดการบริหารคนของพอตเตอร์ได้รับคำชมอย่างมาก และนั่นทำให้ สวอนซี ที่อยู่ในลีกรองของอังกฤษสนใจในตัวโค้ชรุ่นใหม่อย่างเขา

ปรัชญาที่ชัดเจน

การเข้ามาคุม สวอนซี ในฤดูกาล 2018-19 เป็นเหมือนทางผ่านที่ทำให้เขาได้แสดงฝีมือ พอตเตอร์ทำผลงานยอดเยี่ยมพาสวอนซีจบอันดับ 10 ของตารางด้วยวิธีการเล่นที่ตื่นตาตื่นใจ เขาอยู่ที่สวอนซีได้ไม่นานนัก ไบรท์ตัน ก็เห็นแวว และเพียงปีเดียวเขาก็ได้รับการติดต่อให้เลื่อนตำแหน่งขึ้นไปคุมทีมในลีกสูงสุดของประเทศ

พอตเตอร์ เข้ามาคุมไบรท์ตันในฤดูกาล 2019-20 โดยรับหน้าที่ต่อจาก คริส ฮิวจ์ตัน ที่เพิ่งพาทีมหนีตกชั้นในฤดูกาลที่ผ่านมา

 

แน่นอนว่าอาชีพโค้ชที่อังกฤษของเขาเริ่มต้นด้วยการถูกตั้งคำถามจากแฟนไบรท์ตัน ในเมื่อทีมรอดตกชั้นในฐานะทีมน้องใหม่ คุณจะต้องเปลี่ยนแปลงไปเพื่ออะไร ทำไมไม่ต่อยอดจากของเดิม ? … คำถามนี้พอตเตอร์เองก็อยากจะตอบกลับ แต่อย่างที่เขาเคยว่าไว้ว่าการสื่อสารที่ดีมีหลายวิธี และในบางคำถาม การจะตอบได้ดีที่สุดอาจไม่จำเป็นต้องใช้คำพูด แต่มันคือการแสดงให้เห็นอย่างประจักษ์แก่สายตาต่างหาก

แนวคิดในการสร้างออสเตอร์ซุนด์สจากทีมรองบ๊วยดิวิชั่น 2 สวีเดน สู่ทีมเดียวในประเทศที่ต่อต้านทีมจากพรีเมียร์ลีกได้ถูกนำมาใช้อีกครั้งที่ไบรท์ตัน พอตเตอร์เริ่มจากจุดแรกเหมือนเคย นั่นคือการ “สร้างคนที่ดีก่อน” จากนั้นนักฟุตบอลที่ดีก็จะตามมาเอง

“คนมากมายคิดว่าการสอนนักฟุตบอลคือการทำยังไงก็ได้ให้พวกเขาลงสนามไปคว้าชัยชนะ นั่นคือความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้เช่นกัน … แต่สำหรับผมตลอดอาชีพโค้ช การสอนนักเตะที่ดีคือการทำให้พวกเขาเป็นคนที่ดีขึ้นก่อน เมื่อพวกเขาเป็นคนที่มีความรับผิดชอบที่สามารถจัดการชีวิตตัวเองได้ดีขึ้นแล้ว พวกเขาก็จะประสบความสำเร็จเองทั้งในและนอกสนาม”

“เพราะอะไรน่ะเหรอ ? ก่อนที่พวกเขาจะเป็นนักฟุตบอลอาชีพพวกเขาก็เป็นมนุษย์มาก่อน ผมคิดเสมอว่าผมจะช่วยนักเตะของผมได้อย่างไรบ้าง ผมพยายามที่จะรู้ให้ได้ว่าลึก ๆ แล้วพวกเขาต้องการเป็นอะไร พวกเขารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับงานที่ทำหรือไม่ พวกเขาอยากจะพัฒนาตัวเองร่วมกับทีม ๆ นี้มากแค่ไหน” พอตเตอร์ กล่าว

ปรัชญาฟุตบอลของพอตเตอร์เชื่อว่าหลายคนคงรู้ดีจากการเล่นกับฟุตบอลอย่างเข้าขารู้ใจ เขาเล่นบอลกับพื้นและฉกฉวยโอกาสจากคู่แข่ง และเล่นเกมรับอย่างมีวินัยร่วมกันทั้งทีม เขาค่อย ๆ ตั้งปรัชญานี้ให้กับไบรท์ตัน และจากนั้นเขาก็เริ่มหานักเตะที่ตอบโจทย์กับการทำทีมของเขา เลอันโดร ทรอสซาร์ด, นีล โมเปย์, อารอน มอย, อดัมส์ เว็บสเตอร์ และ ทาริค แลมป์ตีย์ คือนักเตะที่พอตเตอร์ของบประมาณสโมสรให้ทุ่มเงินซื้อเข้ามาเพื่อผลงานระยะยาว

 

The Athletic สรุปความเปลี่ยนแปลงใน 12 เดือนแรกระหว่างที่พอตเตอร์คุมไบรท์ตันว่า “สิ่งที่เขาเน้นย้ำที่สุดคือการวางระบบที่ที่สามารถยืดหยุ่นให้เล่นเกมรุกทั้งทีมและเล่นเกมรับทั้งทีมได้ ส่วนเรื่องการต่อบอลที่ไหลลื่นในช่วงปีแรกนั้นพอตเตอร์ยังไม่ได้ใส่รายละเอียดส่วนนี้ให้กับนักเตะของเขามากนัก”

นั่นคือเหตุผลที่ทำให้ไบรท์ตันของพอตเตอร์จบแค่อันดับ 15 เพราะมันยังเกิดความผิดพลาดอยู่พอสมควร อีกทั้งนักเตะก็ยังไม่ค่อยมีคุณภาพมากนัก ดังนั้นเขาจึงเริ่มในสิ่งที่เป็นไปได้ง่ายที่สุด นั่นคือการทำให้ทีม ๆ นี้เป็นทีมที่มีระบบก่อน ที่เหลือจึงค่อย ๆ เสริมและใส่เพิ่มในวันที่พวกเขามีนักเตะที่มีคุณภาพมากกว่านี้

“ผมเน้นเรื่องระบบมาเป็นอันดับแรกเสมอ ผมไม่ใช่คนที่ยะโสโอหังจนดูถูกฟุตบอลที่เล่นด้วยเกมรับเป็นหลัก วิธีการเล่นฟุตบอลนั้นมีมากมายและทุกทีมล้วนมีทางเลือกที่เหมาะกับตัวเอง คำถามคือคุณรู้จักธรรมชาติของตัวเองหรือยังต่างหาก” พอตเตอร์ อธิบายปีแรกของเขา

ปีที่สองนี่แหละที่เป็นของจริง นักเตะที่เข้ามาใหม่อาจจะไม่ได้ใช้เงินเยอะแต่ก็ผ่านการวิเคราะห์มาแล้วว่าจะเข้ากับวิธีการเล่นของทีม อดัม ลัลลาน่า, แดนนี่ เวลเบ็ค, โจเอล เฟลท์มัน และ มอยเซส ไคเซโด้ ที่เป็นนักพละกำลังเยอะที่วิ่งได้ทั้งเกม และพวกเขาก็ไม่แพ้ใครเรื่องความเข้าใจในระบบการเล่น ผลที่ออกมาในปีที่สองคือ พอตเตอร์สามารถใส่รายละเอียดในแผนการเล่นได้ ปีนั้นเองคือปีที่แฟนบอลไบรท์ตันหมดข้อสงสัยในวิธีการของพอตเตอร์ไปโดยปริยาย

“ยิ่งแกรห์มอยู่กับสโมสรนานเท่าไหร่ ไบรท์ตันก็จะเป็นทีมที่ดีขึ้นเท่านั้น” แฟนบอลของพวกเขาให้ความเห็นอย่างหมดข้อสงสัย

ส่วนพอตเตอร์ก็ให้เหตุผลว่าเขาจะค่อย ๆ ทำค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปทีละนิด ฟุตบอลคือศาสตร์ที่ต้องลงมือทำอย่างละเอียด และการจะทำงานละเอียดได้คุณต้องทำทีละจุด แก้ทีละอย่าง ไบรท์ตันมีปัญหาเรื่องความมั่นคงของเกมรับมากที่สุดในมุมมองของเขา พอตเตอร์จึงแก้เรื่องนี้เป็นจุดแรก จากนั้นเขาก็ค่อย ๆ ใส่คำว่าสไตล์ที่ให้ผู้คนได้เห็นภาพทีมของเขาชัดขึ้นหลังจากนั้น

 

“การเปลี่ยนแปลงสไตล์ของทีมเป็นเรื่องใหญ่มาก ๆ หลายคนพูดเหมือนเป็นเรื่องง่ายและไม่สนใจที่จะทำมันอย่างละเอียด พวกเขาเร่งเพื่อไปให้ถึงสิ่งที่สำคัญกว่าอย่างผลลัพธ์ แต่สไตล์ที่ใช่และเหมาะกับทีมที่สุดคือหนทางสู่ความสำเร็จในระยะยาว” พอตเตอร์ กล่าวเอาไว้

ถึงตอนนี้ไม่ต้องสงสัยอีกแล้วว่าไบรท์ตันเป็นทีมที่ดีและพัฒนาขึ้นมามากขนาดไหนในยุคสมัยของ แกรห์ม พอตเตอร์ … บรรยากาศที่ดีในการทำงานเริ่มต้นขึ้นก่อนเป็นอย่างแรก หลังจากนั้นสไตล์ก็ตามมา เมื่อทุกอย่างผสมกันอย่างลงตัวแล้ว “ผลลัพธ์ที่ดี” ก็จะตามมาในตอนท้ายที่สุด ดังที่ ไบรท์ตัน เป็นอยู่ในเวลานี้

UFABETWIN